องค์การบริหารส่วนตำบลวังไชย อ.บรบือ จ.มหาสารคาม

อบต.วังไชย อ.บรบือ จ.มหาสารคาม



ทำเนียบบุคลากร

ออนไลน์ : 33

ท้องถิ่นสู่อาเซี่ยน

อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นองค์กรความร่วมมือ ระดับภูมิภาคมีความคล้ายคลึงกันเชิงภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งอาจจำแนกออกได้คร่าวๆ เป็นประเทศหมู่เกาะกับประเทศบนผืนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้โดยที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศมีความหลากหลายด้านสังคมวัฒนธรรมภาย ในแต่ละประเทศเองซึ่งเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ประเทศสมาชิกอา เซียนมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีขนาดใหญ่ อย่างสาธารณรัฐอินโดนีเซียสหภาพพม่าการเปรียบเทียบประเทศสมาชิกอาเซียนใน เชิงระดับพัฒนาการทางเศรษฐกิจจากมุมมองด้านรายได้จากข้อมูลของ World Bank (2003) สะท้อนให้เห็นว่าระดับพัฒนาการทางเศรษฐกิจในอาเซียนนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับคือ 1) ประเทศที่มีรายได้ต่ำได้แก่ประเทศกัมพูชาลาวพม่าและเวียดนาม 2) ประเทศที่มีรายได้ปานกลางได้แก่ฟิลิปปินส์มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทยและ3) ประเทศที่มีรายได้สูงได้แก่สิงคโปร์ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศใน ภูมิภาคอาเซียนซึ่งได้ร่วมก่อตั้งสมาคมอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations–ASEAN) โดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมพ.ศ. 2510

                 การเปิดพื้นที่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 เป็นการสร้างกระแสตื่นตัวให้แก่หลายประเทศในการเปิดเสรีด้าน เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและการศึกษาซึ่งเป็นความท้าทายต่อการเร่งรัดพัฒนาประเทศให้สอดคล้อง กับการแปรเปลี่ยนของกระแสสังคมโลก เพราะฉะนั้นการที่จะพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจะต้องเริ่มจากฐานวัฒนธรรมชุมชนซึ่ง เป็นปราการที่แข็งแกร่งที่สุดของชาวบ้าน เป็นพลังผลักดันการพัฒนาชุมชนที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนสร้าง ขึ้นมาเอง และในแง่วิธีการพัฒนา จะต้องทำให้ชาวบ้านมีจิตสำนึกที่แจ่มชัดในวัฒนธรรมของเขา ปัญญาชนของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านตื่นและรับรู้ รู้เอกลักษณ์และคุณค่าของตัวเอง ค้นพบจิตสำนึกอิสระของชุมชน เห็นคุณค่าของการรวมตัวเป็นชุมชน และซาบซึ้งในประวัติการต่อสู้ร่วมกันตลอดมา เห็นภัยของการครอบงำของวัฒนธรรมแปลกปลอมจากภายนอกเพื่อการก้าวทันและผลักดัน ชุมชนท้องถิ่นอย่างมีทิศทาง
                    จากการที่กระแสวัฒนธรรมที่มีรากฐานอยู่ที่ทุนนิยมตะวันตกได้แพร่ขยายไปทั่ว โลก ส่งผลกระทบในการเข้าไปมีอิทธิพลครอบงำหรือเผชิญหน้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นต่าง ๆ และกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัฒน์ก็ถาโถมเข้ามาทำลายประวัติศาสตร์  ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม  ค่านิยมและความเชื่อที่ยึดถือกันมานาน  ความเปลี่ยนแปลงนี้จะเปิดประตูให้อนาคตบุกรุกเข้ามาในชีวิต  จึงเป็นเรื่องยากที่จะจับทิศทางของการเปลี่ยนแปลงด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ว่าจะไปทางไหน  เพราะอัตราเร่งของการเปลี่ยนแปลงมีพลังมากพอที่จะเคลื่อนไหวว่าทิศทางของ วัฒนธรรมจะไปทางใด  นอกจากนี้การเผชิญหน้ากับโลกาภิวัฒน์จึงจำเป็นต้องใช้จินตนาการและความคิด สร้างสรรค์มากกว่าความถูกต้องของหลักวิชาหรือทฤษฎีต่าง ๆ และวัฒนธรรมการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง
                แต่ก่อนที่มันจะพัฒนาการไปสู่ความเจริญและความเสื่อม สังคมเปิดกว้างมักจะอยู่รอดด้วยการเรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง  เกิดความคิด ความเชื่อ ความซับซ้อน ความขัดแย้ง ทั้งหมดจะเชื่อมโยงเข้ากับวิถีชีวิต ในขณะที่เทคโนโลยีก็ได้แสดงศักยภาพในการสื่อสารที่บ่งบอกถึงความทันสมัย  ความสะดวกรวดเร็ว  จากที่กล่าวมาทำให้เห็นว่าภาพของพื้นที่ตามแนวชายแดนอาจจะต้องสูญเสีย วัฒนธรรมดั้งเดิมไปและเริ่มสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาเพื่อการขยายโอกาสในการ สร้างสรรค์สู่การรองรับประชาคมอาเซียนให้แก่ชุมชนท้องถิ่นได้เกิดการรับและ เรียนรู้

 

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี กล่าวว่าปัจจัยที่สำคัญมากต่อการนำชุมชนไปสู่ชีวิตสาธารณะที่มีสุขภาพดีหรือ ไม่ดีก็คือกรอบแนวคิดโดยเฉพาะกรอบแนวคิดในการแก้ปัญหาและการมองความเป็นไป ของสรรพสิ่ง วอนกรีสแฮม เรียกกรอบแนวคิดนี้ว่า “หลักนำการปฏิบัติ” (guiding principles) ในชุมชนที่อุดมด้วยชีวิตสาธารณะนั้นเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นการมีส่วนร่วมของ ภาคสาธารณะและการทำงานเพื่อส่วนรวมและจอห์น แมคไนท์ ผู้ศึกษาองค์กรชุมชนอธิบายว่า หลักนำการปฏิบัติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือ “จงถือว่ามนุษย์ทุกคนคือ ทรัพยากรที่ล้ำค่า” เป็นหลักนำที่มองชุมชนในฐานะองค์รวมของศักยภาพของปัจเจกบุคคลในชุมชนและมี ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมเพราะเมื่อชุมชนให้ความ สำคัญต่อศักยภาพของคนในชุมชนชุมชนนั้นย่อมตระหนักถึงความเป็นไปได้ของการริ เริ่มดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในเรื่องแนวคิดต่อพลังในชุมชน ชุมชนที่มีชีวิตสาธารณะที่ดีจะมีกรอบแนวคิดว่าพลังที่แท้จริง เป็นพลังที่มาจาก ประชาชน “ประชาชนในท้องถิ่นเท่านั้นที่จะสามารถแก้ไขปัญหาในท้องถิ่น”

            และวิถีทางเดียว ที่จะทำให้ชุมชนเป็นชุมชนที่น่าอยู่ก็คือ ประชาชนในชุมชน ต้องเข้าใจและยอมรับความรับผิดชอบของตนต่อทุกๆเรื่อง ที่เกิดขึ้นกับชุมชน ไม่ปฏิเสธหรือยกเว้นแม้กระทั่งเรื่องของอาเซียนที่จะขยับเข้ามาปะทะการ ดำเนินชีวิตอย่างหลีกหนีไม่พ้น

            เพราะฉะนั้น การที่จะพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจะต้องเริ่มจากฐานวัฒนธรรมชุมชนซึ่งเป็นปราการ ที่แข็งแกร่ง ที่สุดของชาวบ้าน เป็นพลังผลักดันการพัฒนาชุมชนที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนสร้าง ขึ้นมาเอง และในแง่วิธีการพัฒนา จะต้องทำให้ชาวบ้านมีจิตสำนึกที่แจ่มชัดในวัฒนธรรมของเขา ปัญญาชนของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านตื่นและรับรู้ รู้เอกลักษณ์และคุณค่าของตัวเอง ค้นพบจิตสำนึกอิสระของชุมชน เห็นคุณค่าของการรวมตัวเป็นชุมชน และซาบซึ้งในประวัติการต่อสู้ร่วมกันตลอดมา

            เราอย่าลืมว่า ชุมชน จะพัฒนาได้อย่างไรถ้าเรารู้จักความจริงในหมู่บ้านเพียงครึ่งเดียว ขณะที่อาเซียนที่จะขยับเข้ามานั้นเป็นเพียงการตื่นรู้ของการเป็นอยู่ในอดีต ที่ชุมชนแค่ปรับฐานคิดการฉกฉวยโอกาสของการสร้างสรรค์พันธนาการร่วมทางสังคม โดยเฉพาะความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อโอกาสและอนาคตของลูกหลานชุมชนชายแดนท้องถิ่น(ไทย) ที่หลายฝ่ายยังคงมองข้ามและคลำหาทิศทางในการรองรับประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ที่จะมาเยือนเร็วๆนี้...

ดาวน์โหลดเอกสารอ่านเพิ่มเติมคลิก


ที่มา:http://www.oknation.net

View : 1363